สถาบันวิทยาลัยชุมชน Institute of Community Colleges (ICCs)

ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศ ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

สถาบันวิทยาลัยชุมชนลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาความเป็นเลิศสถาบันวิทยาลัยชุมชน ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566 – 2570) วันที่ 10 – 12 กรกฎาคม 2567 ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

นำโดยนายพงษ์เดช ศรีวชิรประดิษฐ์ กรรมการสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน และนายเจริญชัย วงษ์จินดา รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิทยาลัยชุมชน ลงพื้นที่ตรวจติดตามประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนดังกล่าว โดยมีกิจกรรมที่สำคัญคือ การรับฟังผลการดำเนินงาน ปัญหา/อุปสรรคในการทำงานของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร และการลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานในโครงการต่าง ๆ ดังนี้

  1. โครงการพัฒนาทักษะอาชีพตามความต้องการทางด้านโลจิสติกส์ (Logistic for SEZ) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร ณ วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
  2. โครงการแหล่งเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์และการค้าอินโดจีนในรูปแบบดิจิทัล มุกดาหารเมืองแห่งการเรียนรู้ Mukdahan Learning City ปีที่ 2 (ภูมิปัญญาอาหารและเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์) บ้านหน่องหล่ม ต.โพธิ์ไทร อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร
  3. โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร (ชุมชนท่องเที่ยว CMLT for BCG) บ้านบุ่ง ต.ภูวง อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร

ทั้งนี้ คณะทำงานฯได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน ให้กำลังใจกับผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้รับบริการ เครือข่ายความร่วมมือของวิทยาลัยชุมชน และให้ข้อคิดเห็น/เสนอแนะเพื่อแก้ไข/พัฒนาการดำเนินงานของวิทยาลัยชุมชน ในประเด็นสำคัญ ดังนี้

  • การหาความร่วมมือ (MOU) เพื่อให้นักศึกษามีงานทำหลังจบการศึกษา
  • การใช้ระบบคลังหน่วยกิตเพื่อลดปัญหานักศึกษาออกกลางคัน ให้เด็กยังอยู่ในระบบ
  • การประเมินผลลัพธ์ ให้ติดตามเป็นระยะ ๆ เช่น ติดตามผู้สำเร็จการศึกษา หลังจบ 3 และ 6 เดือน
  • การจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้แบบ WIL/CWIE
  • การวิเคราะห์เพื่อกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและสอดคล้องกับประกาศและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
  • ในระยะต่อไป อาจยกระดับนักศึกษาที่จบหรือผู้รับบริการด้านโลจิสติกส์ ให้มีทักษะที่ไม่ใช่เพียงแค่เป็นพนักงาน แต่ให้เป็นเจ้าของกิจการส่งออกที่มีใบประกอบอาชีพ
  • การหาแนวทางดำเนินการเพื่อให้วิทยาลัยชุมชนสามารถบูรณาการการใช้งบประมาณร่วมกับงบประมาณของจังหวัดได้
  • การกำหนดค่าธรรมเนียมเข้ารับบริการวิชาการ สามารถดำเนินการได้ตามประกาศที่เกี่ยวข้อง และให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
  • การกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินงานให้ไปสู่ความยั่งยืน
  • การบริการวิชาการ ควรบ่งชี้กลุ่มเป้าหมายคนจน ผู้ด้อยโอกาสให้ชัดเจน
  • ต่อยอดการจัดการศึกษา การบริการวิชาการ ไปสู่งานวิจัย เช่น การวิจัยในชั้นเรียน การเก็บข้อมูลทักษะผู้ฝึกอบรมเพื่อต่อยอดไปสู่งานวิจัย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *